สถาบันรัชต์ภาคย์

Categories
ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าววิชาการ บทความ บทความทางวิชาการ

สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย ปรับการบริหารรัฐแบบมีส่วนร่วมจากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ

บทความ "สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย ปรับการบริหารรัฐแบบมีส่วนร่วมจากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ"

โดย ดร.ราชวิกรม อาทิตย เจริญรัชต์ภาคย์ สถาบันรัชต์ภาคย์

25 กรกฎาคม 2564

ในช่วง 2 ปี (พ.ศ. 2563-2564) สังคมโลกและประเทศไทยต้องประสบปัญหาวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาโควิด-19 ซึ่งตอนแรกดูเหมือนรัฐบาลจะสร้างผลงานควบคุมโรคได้อย่างยอดเยี่ยมอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศในโลก  แต่แล้วความร้ายแรงของไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ ทำให้การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิท-19 สร้างความปั่นป่วนให้กับทั่วโลกและไทยก็กลายเป็นประเทศที่ไม่สามารถควบคุมได้  โดย “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19” หรือ  “ศคบ.”  เมื่อมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นตลอด และแนวโน้มคนติดเชื้อและคนตายเพิ่มทำลายสถิติอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น วันพฤหัสบดีที่ 20กรกฎาคม 2564 มียอดผู้ติดเชื้อรวม 9,186ราย ผู้ป่วยสะสม 343,352 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 98 ราย และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25กรกฎาคม 2564 ก็สร้างสถิติผู้ติดเชื้อสุดสูงสุดรวม 15,335 ราย ผู้ป่วยสะสม 468,439 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 129 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 4,059 ราย

ขอขอบคุณข้อมูลภาพจาก Posttoday

ทางสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รายงานว่า รัฐบาลเชื่อมั่นในตัวเองสูงเกินไป       จะสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในระดับต่ำได้ตลอดไป การกลับเข้าสู่วิกฤติด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งอาจจะสรุปสาเหตุสำคัญตามข้อเท็จจริง ได้ดังนี้

  1. ในช่วงแรกๆของปี 2562 เรื่อยมา การลักลอบเข้าเมืองของคนไทยและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถคัดกรองผู้ติดเชื้อและเกิดการไหลเคลื่อนของคนกระจายไปพื้นที่ต่างๆ
  2. การอนุญาตให้เปิดสถานบริการที่มีความเสี่ยงเช่น สถานบันเทิง ผับบาร์ ร้านอาหาร ตลาดสด ที่มีมาตรฐานการป้องกันหย่อนยาน และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2563 ปล่อยให้ประชาชนสังสรรค์โดยปราศจาคการระมัดระวังและเว้นระยะห่างที่เพียงพอ ทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคอย่างรวดเร็วกระจายพื้นที่ทุกภูมิภาค
  3. ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ และเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาด อย่าง สายพันธุ์อัลฟ่า-เดลตา ทำให้ยากที่จะรับมือการระบาดระลอก 3 และระลอก 4
  4. การบริหารจัดการฉีดวัคซีนล่าช้า โดยประชาชนได้รับการฉีควัคซีนน้อยมากแค่ 20% ซึ่งการสั่งซื้อและรับมอบวัคซีนจำกัด2ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค (Sinovac) กับแอสตราซีนิก้า (Astrazeneca) เป็นวัตซีนหลัก ที่สำคัญวัคซีนหลักที่ใช้ฉีดอยู่ในระยะแรกคือ “ซิโนแวค” ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถควบคุมการติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้ และทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น เรวมถึงไม่ยอมให้เอกชนเปิดการนำเข้าวัคซีนโดยตรงได้
  5. สถานพยาบาลและกระบวนการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่เพียงพอ การสร้างระบบกระบวนการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อและการคัดกรองผู้ป่วยขาดประสิทธิภาพในการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาด “หมอพร้อม” ที่มีความไม่พร้อมในบางเรื่อง เป็นโครงการดูแลสุขภาพในช่วงโควิท การไหลเคลื่อนของประชากรกระจายไปพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ในขณะที่มีการบังคับใช้กฎหมายในการล็อกพื้นที่เป็นเขตควบคุมพิเศษล่าช้า การปรับรูปแบบของการบริหารจัดการเป็นไปอย่างจำกัด และไม่มีการบูรณาการไปในทิศทางเดียวกันระหว่างสถานพยาบาล และการเยียวยาวิถีการดำรงอยู่ ปล่อยให้ชุมชนดูแลกันเอง แต่สำหรับบางชุมชนก็ปล่อยกันตามยถากรรม ดังนั้น ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 สำหรับผู้ไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่จะเสียชีวิต หรือกว่าจะหายได้ก็ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
  6. สภาพเศรษฐกิจและสังคมอยู่อย่างหวาดผวาในความกลัวโรคระบาด และเริ่มแร้นแค้นจากรายได้และการบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่งโครงการเยียวยาและช่วยเหลือทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น โครงการเราชนะ สิทธิคนละครึ่ง เงินประกันสังคม เงินกู้SME ล้วนแล้วแต่เป็นเงินกระจายให้ไม่คุ้มค่ากับความต้องการของผู้เดือดร้อน

ประเทศไทยจำเป็นต้องมีสติ และช่วยกันสร้างความมั่นคั่งอย่างมั่นใจ โดยรัฐบาลต้องปรับรูปแบบของการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ใหม่ด้วยการบูรณาการ ภายใต้หลักธรรมชาติค้ำจุนกับแบบการมีส่วนร่วมและกระจายอำนาจการจัดการที่ทันสมัย ซึ่งแนวทางในการดำเนินการตามศักยภาพที่เหมาะสมอาจเป็น ดังนี้

  1. การเปิดสถานประกอบการควรคำนึงถึงสถานภาพของคนและองค์กรในการดำรงอยู่ ดังนั้น ควรเลือกกิจการที่สำคัญและส่งเสริมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยกิจการนั้นต้องมีระบบอากาศถ่ายเทที่ดีและมีมาตรการควบคุมโควิดความปลอดภัยสูง โดยมีเจ้าหน้าตรวจสอบตลอดเวลา ดีกว่าปิดการดำเนินงาน อย่างเช่น การเปิดสถานศึกษา โดยยึดหลักให้เว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม และเปิดหน้าต่างในห้องเรียน ให้อากาศถ่ายเทได้ดี การให้บริการระบบคมนาคมสาธารณะ อย่าง รถไฟ รถไฟฟ้า รถประจำทาง เครื่องบิน เพิ่มระบบถ่ายเทอากาศ เปิดหน้าต่าง และปรับพัดลกดูดอากาศในพื้นที่โดยสาร และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีผู้ใช้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เปิดหน้าต่างในระหว่างขับรถยนต์จะทำให้อากาศถ่ายเทพ้นจากเชื้อโรค

ทั้งนี้เหตุการณ์ที่ผ่านาเป็นตัวอย่างของความเสียหายในการปิดสถานประกอบการ เฃ่น การปิดกิจการก่อสร้าง แทนที่จะลดคนติดเชื้อโควิด-19 กลับทำให้คนงานที่ว่างงานเดือดร้อนด้านเศรษฐกิจ กลับบ้านที่อยู่ต่างจังหวัดและนำเชื่อโควิด-19 ไปเผยแพร่ในจังหวัดที่อยู่ของตนเองครบทุกจังหวัด”

  1. รณรงค์ให้ประชาชนทุกคนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยหลักธรรมชาติ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารสุขภาพ สมุนไพร โยคะ การออกกำลังกาย การนอนไม่ดึกพักผ่อนให้เพียงพอ และการนั่งสมาธิที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคร้ายแรงและโรคภัยต่างๆได้ โดยส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนร่วมกันพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ
  2. การจัดระบบการบริหารจัดการผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีประสิทธิผล โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการตัวเองและกลุ่มพื้นที่ โดยเปิดเสรีให้เอกชน หรือหน่วยงานสามารถจัดหาอุปกรณ์การตรวจเชื่อโรคได้อย่างรวดเร็วในราคาไม่แพง และมีสถานพยาบาลสนามใกล้ สำหรับผู้ติดเชื่อโรค พร้อมจิตอาสาที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้ป่วยขั้นต้น  รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ทั้งประเภทการรักษาการแพทย์ปัจจุบัน แพทย์ทางเลือก และแบบภูมิปัญญา
  3. การส่งเสริมให้เอกชนและองค์กรที่สามารถระดมทรัพยากรทางการแพทย์และการจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพสำหรับการป้องกันโรคไวรัสโควิท-19 ที่กลายพันธุ์ได้ โดยการเปิดนำเข้าเสรี แบบเดียวกับการนำเข้ายาที่ใช้ทั่วไป
  4. สื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ ทันต่อเหตุการณ์ และป้องกันการสร้างข่าวลือ หรือข่าวที่ไม่สร้างสรรค์ ทำให้เกิดความหวากกลัวของสังคม
  5. เปิดให้สื่อมวลชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถตรวจสอบการทำงานของกระบวนการบริหารในสถานการณ์ของโรคไวรัสโควิท-19 ให้โปร่งใสตามขั้นตอนที่เหมาะสม

           สถานการณ์ที่ยากลำบากของประเทศไทยจะผ่านวิกฤติภัยร้ายแรงจากการคุกคามของโรคไวรัสโควิท-19 และจะขยายวงกว้างในอนาคตมากน้อยขนาดไหน กับการค้นหาที่มาของเชื้อโรคนั้นจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือการก่อการร้ายของของกลุ่มมหาอำนาจการเมืองของโลกนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้คนไทยพ้นวิบากกรรมของชาวโลก  ดังนั้น คนไทยต้องยืนหยัดรวมพลังกันยึดมั่นธรรมชาติวิถี ด้วยภูมิปัญญาควบคู่ไปกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม พร้อมกระจายอำนาจในการจัดการให้กับชุมชน ดีกว่าหวังพึ่งวัคซีนจากต่างประเทศ

“ผมขอเสนอให้นำสมุนไพร แพทย์ทางเลือก แพทย์อายุรเวท และการจัดซื้อวัคซีนอย่างรวดเร็วขึ้น โดยให้บริษัทผลิตวัคซีนนอกเวลาทำงาน (Overtime) และการเปิดให้นำเข้าเสรี ให้เอกชนดำเนินการกัน ถึงแม้อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม พร้อมกับการบริหารสถานการณ์วิกฤตโควิด-19แบบมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเข้าน่วมแก้ปัญหา กับกลุ่มชุมชน และภาคประชาสังคมที่มีอยู่ส่วนใหญ่” ดร.ราชวิกรม อาทิตย เจริญรัชต์ภาคย์ กล่าวในที่สุด  

Categories
ข่าวกิจกรรม ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์ งานวิจัย บทความทางวิชาการ ภาพกิจกรรม

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์ยะลา จัดสอบปกป้องสารนิพนธ์

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 สถาบันรัชต์ภาคย์ ศูนย์ยะลา
จัดสอบปกป้องสารนิพนธ์ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จำนวน 9 คน