สถาบันรัชต์ภาคย์

Categories
ข่าวกิจกรรม ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าววิชาการ

โครงการการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2565

กำหนดการโครงการการพัฒนาหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2565 และ เกณฑ์ AUN-QA Version 4

 

วันที่ 17 – 18 กันยายน 2566

เวลา 09.00 – 17.00 น.

ณ ห้องประชุมใหญ่  สถาบันรัชต์ภาคย์

 

วันที่ 17 กันยายน 2566

เวลา                         กิจกรรม

08.30 – 09.00 น.         ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

09.00 – 09.10 น.         ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและกล่าวเปิดงาน

09.00 – 10.30 น.         บรรยาย “เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565”

10.30 – 10.45 น.         พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.         บรรยาย “หลักการบริหารหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4”  และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม

12.00 – 13.00 น.         รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.         บรรยาย “การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร”

14.30 – 14.45 น.         พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.         บรรยาย “การออกแบบโครงสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ตามกรอบของเกณฑ์ AUN-QA Version 4” 

16.30 – 17.00 น.         แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม

 

 

วันที่ 18 กันยายน 2566

เวลา                         กิจกรรม

08.30 – 09.00 น.         ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน

09.00 – 10.30 น.         บรรยาย“การออกแบบกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4”

10.30 – 10.45 น.         พักรับประทานอาหารว่าง

10.45 – 12.00 น.         บรรยาย “การประเมินผู้เรียนตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4” และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม

12.00 – 13.00 น.         รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 14.30 น.         บรรยาย “การบริหารทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4”

14.30 – 14.45 น.         พักรับประทานอาหารว่าง

14.45 – 16.30 น.         บรรยาย “การบริหารทรัพยากรและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนตามเกณฑ์ AUN-QA Version 4”  (ต่อ)

16.30 – 16.45 น.         แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม

16.45 – 17.00 น.         ปิดการอบรม

Categories
ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าววิชาการ

คำสั่งแต่งตั้งนายกสภาและกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันรัชต์ภาคย์

คำสั่งแต่งตั้งนายกสภาและกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันรัชต์ภาคย์

Categories
ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าววิชาการ บทความ บทความทางวิชาการ

สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย ปรับการบริหารรัฐแบบมีส่วนร่วมจากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ

บทความ "สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย ปรับการบริหารรัฐแบบมีส่วนร่วมจากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ"

โดย ดร.ราชวิกรม อาทิตย เจริญรัชต์ภาคย์ สถาบันรัชต์ภาคย์

25 กรกฎาคม 2564

ในช่วง 2 ปี (พ.ศ. 2563-2564) สังคมโลกและประเทศไทยต้องประสบปัญหาวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาโควิด-19 ซึ่งตอนแรกดูเหมือนรัฐบาลจะสร้างผลงานควบคุมโรคได้อย่างยอดเยี่ยมอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศในโลก  แต่แล้วความร้ายแรงของไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ ทำให้การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิท-19 สร้างความปั่นป่วนให้กับทั่วโลกและไทยก็กลายเป็นประเทศที่ไม่สามารถควบคุมได้  โดย “ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19” หรือ  “ศคบ.”  เมื่อมียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นตลอด และแนวโน้มคนติดเชื้อและคนตายเพิ่มทำลายสถิติอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น วันพฤหัสบดีที่ 20กรกฎาคม 2564 มียอดผู้ติดเชื้อรวม 9,186ราย ผู้ป่วยสะสม 343,352 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 98 ราย และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25กรกฎาคม 2564 ก็สร้างสถิติผู้ติดเชื้อสุดสูงสุดรวม 15,335 ราย ผู้ป่วยสะสม 468,439 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) เสียชีวิต 129 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 4,059 ราย

ขอขอบคุณข้อมูลภาพจาก Posttoday

ทางสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รายงานว่า รัฐบาลเชื่อมั่นในตัวเองสูงเกินไป       จะสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในระดับต่ำได้ตลอดไป การกลับเข้าสู่วิกฤติด้านสุขภาพและด้านเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งอาจจะสรุปสาเหตุสำคัญตามข้อเท็จจริง ได้ดังนี้

  1. ในช่วงแรกๆของปี 2562 เรื่อยมา การลักลอบเข้าเมืองของคนไทยและแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถคัดกรองผู้ติดเชื้อและเกิดการไหลเคลื่อนของคนกระจายไปพื้นที่ต่างๆ
  2. การอนุญาตให้เปิดสถานบริการที่มีความเสี่ยงเช่น สถานบันเทิง ผับบาร์ ร้านอาหาร ตลาดสด ที่มีมาตรฐานการป้องกันหย่อนยาน และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2563 ปล่อยให้ประชาชนสังสรรค์โดยปราศจาคการระมัดระวังและเว้นระยะห่างที่เพียงพอ ทำให้เกิดการแพร่กระจายโรคอย่างรวดเร็วกระจายพื้นที่ทุกภูมิภาค
  3. ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ และเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาด อย่าง สายพันธุ์อัลฟ่า-เดลตา ทำให้ยากที่จะรับมือการระบาดระลอก 3 และระลอก 4
  4. การบริหารจัดการฉีดวัคซีนล่าช้า โดยประชาชนได้รับการฉีควัคซีนน้อยมากแค่ 20% ซึ่งการสั่งซื้อและรับมอบวัคซีนจำกัด2ยี่ห้อ คือ ซิโนแวค (Sinovac) กับแอสตราซีนิก้า (Astrazeneca) เป็นวัตซีนหลัก ที่สำคัญวัคซีนหลักที่ใช้ฉีดอยู่ในระยะแรกคือ “ซิโนแวค” ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถควบคุมการติดเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ได้ และทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่น เรวมถึงไม่ยอมให้เอกชนเปิดการนำเข้าวัคซีนโดยตรงได้
  5. สถานพยาบาลและกระบวนการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่เพียงพอ การสร้างระบบกระบวนการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อและการคัดกรองผู้ป่วยขาดประสิทธิภาพในการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาด “หมอพร้อม” ที่มีความไม่พร้อมในบางเรื่อง เป็นโครงการดูแลสุขภาพในช่วงโควิท การไหลเคลื่อนของประชากรกระจายไปพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ในขณะที่มีการบังคับใช้กฎหมายในการล็อกพื้นที่เป็นเขตควบคุมพิเศษล่าช้า การปรับรูปแบบของการบริหารจัดการเป็นไปอย่างจำกัด และไม่มีการบูรณาการไปในทิศทางเดียวกันระหว่างสถานพยาบาล และการเยียวยาวิถีการดำรงอยู่ ปล่อยให้ชุมชนดูแลกันเอง แต่สำหรับบางชุมชนก็ปล่อยกันตามยถากรรม ดังนั้น ผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 สำหรับผู้ไม่มีโอกาสเข้าถึงการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่จะเสียชีวิต หรือกว่าจะหายได้ก็ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน
  6. สภาพเศรษฐกิจและสังคมอยู่อย่างหวาดผวาในความกลัวโรคระบาด และเริ่มแร้นแค้นจากรายได้และการบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่งโครงการเยียวยาและช่วยเหลือทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนของรัฐ ไม่ว่าจะเป็น โครงการเราชนะ สิทธิคนละครึ่ง เงินประกันสังคม เงินกู้SME ล้วนแล้วแต่เป็นเงินกระจายให้ไม่คุ้มค่ากับความต้องการของผู้เดือดร้อน

ประเทศไทยจำเป็นต้องมีสติ และช่วยกันสร้างความมั่นคั่งอย่างมั่นใจ โดยรัฐบาลต้องปรับรูปแบบของการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 ใหม่ด้วยการบูรณาการ ภายใต้หลักธรรมชาติค้ำจุนกับแบบการมีส่วนร่วมและกระจายอำนาจการจัดการที่ทันสมัย ซึ่งแนวทางในการดำเนินการตามศักยภาพที่เหมาะสมอาจเป็น ดังนี้

  1. การเปิดสถานประกอบการควรคำนึงถึงสถานภาพของคนและองค์กรในการดำรงอยู่ ดังนั้น ควรเลือกกิจการที่สำคัญและส่งเสริมทางเศรษฐกิจและสังคม โดยกิจการนั้นต้องมีระบบอากาศถ่ายเทที่ดีและมีมาตรการควบคุมโควิดความปลอดภัยสูง โดยมีเจ้าหน้าตรวจสอบตลอดเวลา ดีกว่าปิดการดำเนินงาน อย่างเช่น การเปิดสถานศึกษา โดยยึดหลักให้เว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม และเปิดหน้าต่างในห้องเรียน ให้อากาศถ่ายเทได้ดี การให้บริการระบบคมนาคมสาธารณะ อย่าง รถไฟ รถไฟฟ้า รถประจำทาง เครื่องบิน เพิ่มระบบถ่ายเทอากาศ เปิดหน้าต่าง และปรับพัดลกดูดอากาศในพื้นที่โดยสาร และรถยนต์ส่วนบุคคลที่มีผู้ใช้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เปิดหน้าต่างในระหว่างขับรถยนต์จะทำให้อากาศถ่ายเทพ้นจากเชื้อโรค

ทั้งนี้เหตุการณ์ที่ผ่านาเป็นตัวอย่างของความเสียหายในการปิดสถานประกอบการ เฃ่น การปิดกิจการก่อสร้าง แทนที่จะลดคนติดเชื้อโควิด-19 กลับทำให้คนงานที่ว่างงานเดือดร้อนด้านเศรษฐกิจ กลับบ้านที่อยู่ต่างจังหวัดและนำเชื่อโควิด-19 ไปเผยแพร่ในจังหวัดที่อยู่ของตนเองครบทุกจังหวัด”

  1. รณรงค์ให้ประชาชนทุกคนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยหลักธรรมชาติ เกี่ยวกับการบริโภคอาหารสุขภาพ สมุนไพร โยคะ การออกกำลังกาย การนอนไม่ดึกพักผ่อนให้เพียงพอ และการนั่งสมาธิที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคร้ายแรงและโรคภัยต่างๆได้ โดยส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนร่วมกันพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ
  2. การจัดระบบการบริหารจัดการผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีประสิทธิผล โดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการตัวเองและกลุ่มพื้นที่ โดยเปิดเสรีให้เอกชน หรือหน่วยงานสามารถจัดหาอุปกรณ์การตรวจเชื่อโรคได้อย่างรวดเร็วในราคาไม่แพง และมีสถานพยาบาลสนามใกล้ สำหรับผู้ติดเชื่อโรค พร้อมจิตอาสาที่ผ่านการอบรมในการดูแลผู้ป่วยขั้นต้น  รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ทั้งประเภทการรักษาการแพทย์ปัจจุบัน แพทย์ทางเลือก และแบบภูมิปัญญา
  3. การส่งเสริมให้เอกชนและองค์กรที่สามารถระดมทรัพยากรทางการแพทย์และการจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพสำหรับการป้องกันโรคไวรัสโควิท-19 ที่กลายพันธุ์ได้ โดยการเปิดนำเข้าเสรี แบบเดียวกับการนำเข้ายาที่ใช้ทั่วไป
  4. สื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำ ทันต่อเหตุการณ์ และป้องกันการสร้างข่าวลือ หรือข่าวที่ไม่สร้างสรรค์ ทำให้เกิดความหวากกลัวของสังคม
  5. เปิดให้สื่อมวลชน และหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสามารถตรวจสอบการทำงานของกระบวนการบริหารในสถานการณ์ของโรคไวรัสโควิท-19 ให้โปร่งใสตามขั้นตอนที่เหมาะสม

           สถานการณ์ที่ยากลำบากของประเทศไทยจะผ่านวิกฤติภัยร้ายแรงจากการคุกคามของโรคไวรัสโควิท-19 และจะขยายวงกว้างในอนาคตมากน้อยขนาดไหน กับการค้นหาที่มาของเชื้อโรคนั้นจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือการก่อการร้ายของของกลุ่มมหาอำนาจการเมืองของโลกนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้คนไทยพ้นวิบากกรรมของชาวโลก  ดังนั้น คนไทยต้องยืนหยัดรวมพลังกันยึดมั่นธรรมชาติวิถี ด้วยภูมิปัญญาควบคู่ไปกับการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม พร้อมกระจายอำนาจในการจัดการให้กับชุมชน ดีกว่าหวังพึ่งวัคซีนจากต่างประเทศ

“ผมขอเสนอให้นำสมุนไพร แพทย์ทางเลือก แพทย์อายุรเวท และการจัดซื้อวัคซีนอย่างรวดเร็วขึ้น โดยให้บริษัทผลิตวัคซีนนอกเวลาทำงาน (Overtime) และการเปิดให้นำเข้าเสรี ให้เอกชนดำเนินการกัน ถึงแม้อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม พร้อมกับการบริหารสถานการณ์วิกฤตโควิด-19แบบมีส่วนร่วมของประชาชน โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเข้าน่วมแก้ปัญหา กับกลุ่มชุมชน และภาคประชาสังคมที่มีอยู่ส่วนใหญ่” ดร.ราชวิกรม อาทิตย เจริญรัชต์ภาคย์ กล่าวในที่สุด  

Categories
ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าววิชาการ

สถาบันรัชต์ภาคย์ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เมืองกัวร์ ประเทศอินเดีย

สถาบันรัชต์ภาคย์ ร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เมืองกัวร์ ประเทศอินเดีย โดยนำคณาจารย์จากสถาบัน ร่วมการนำเสนอผลงาน ในงาน ประกอบไปด้วย 
  
1) ดร.ญาณกร โท้ประยูร
2) ผศ.ดร.ชยสร สมบุญมาก
3) ดร.จักร์พงษ์ เปี่ยมเมตตา
4) อ.นฐมล น่านโพธิ์สรี
5) อ.กุศุมามาลย์ ปัจฉิมสวัสดิ์
6) ดร.ชัยอนันต์ ตรีไพบูลย์  
7) อ.อัครกฤษ นุ่นจันทร์   
8) ดร.ธันยนันท์ จันทร์ทรงพล

ในงาน 2nd India-Greater Mekong Sub Region International Conference 2019″merging trends in Tourism, Entrepreneurship and Management”27-29 November 2019 ณ Sanskruti Bhavan, Directorate of Art & Culture,Patto, Panaji, Goa-403001,India 

Categories
ข่าวประกาศ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าววิชาการ

อาจารย์ทวีศักดิ์ แสงเงิน อาจารย์กุสุมามาลย์ ปัจฉิมสวัสดิ์ และ ดร.อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว ได้ต้อนรับคณะจากวิทยาลัยเซ็นเทเรซ่า

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน 2562 อาจารย์ทวีศักดิ์ แสงเงิน อาจารย์กุสุมามาลย์ ปัจฉิมสวัสดิ์ และ ดร.อาทิตย์ อินต๊ะแก้ว ได้ต้อนรับคณะจากวิทยาลัยเซ็นเทเรซ่า จากรัฐอุตระประเทศ อินเดียที่มีอาจารย์และนักศึกษารวม 35 ท่าน มีการตกลงจัดทำความร่วมมือทางวิชาการ บรรยากเต็มไปด้วยความอบอุ่นและได้รับการขอบคุณในไมตรีที่เกิดขึ้น

1

Prof. Dr.Dmello Marietta

Psychology

2

Prof. Dr.Darapu Lumbini Devi

Bio-Chemistry

3

Prof. Dr.Gudipudi Rani

Botany

4

Prof. Dr.Nanduri Gayatri Devi

Chemistry

5

Prof. Dr.Gollapalli Radhika

Computer Science

6

Prof. Dr.Pedarla Madhavi

English

7

Prof. Domathoti Fathima Rani

English

8

Prof. Dr.Mohammad Ume Salma

Hindi

9

Prof. Dr.Gandi Mary Vijaya Ratna Kumari

History

10

Prof. Dr.Kosaraju Venkata Padmavati

Home Science

11

Prof. Dr.Mallavarapu Inyasamma

Management

12

Prof. Dr.Pudota Sunila Rani

Microbiology

13

Prof. Dr.Anduri Padmavathi

Microbiology

14

Prof. Dr.Pachimalla Jyothi Kumari

Nutrition

15

Prof. Dr.Paranjothy Mary Celine Rose

Physical Education

16

Prof. Dr.Raghumanda Sravani